ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปลวก

ปลวก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ทำลายทรัพย์สินเสียหายในแต่ละปี ไม่มีอาคารที่จะไม่มีระบบป้องกันตนเองต่อการรุกรานของมันได้ปลวกส่วนไหญ่จะหลบซ้อนอยู่ภายในโครงสร้างที่ไม่สามารถมองเห็นหรือตรวจพบได้ กว่าจะรู้ก็เสียหายแล้ว

ปลวก เป็นแมลงชนิดหนึ่ง มีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า เรียกว่า “แมลงสังคม“
ปลวกเป็นศัตรูสำคัญต่อ เศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำความเสียหายอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง พืชสวนและพืชไร่ต่างๆ ในประเทศไทยมีมากกว่า 90 ชนิด และทั่วโลกประมาณ 2000 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความเป็นอยู่และความต้องการอาหารที่แตกต่างกัน กล่าวว่าปลวกเป็น “แมลงสังคม” ซึ่งจะประกอบด้วยวรรณะ 3 วรรณะดังนี้ปลวก (ter­mite) “แมลงสังคม”

วรรณะ ปลวกสืบพันธุ์ : คือ ปลวก ตัวเมีย ในรังปลวกจะพบปลวกชนิดนี้ ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และขยายพันธ์ เราเรียกปลวกคู่นี้ว่า ราชาปลวก(king) และราชินีปลวก(queen) นอกจากนี้ยังมีปลวกสืบพันธุ์สำรอง ซึ่งช่วยสืบพันธุ์กรณีราชาปลวกหรือราชินีตาย “แมลงเม่า” เป็นปลวกในระยะที่มีปีก เมื่อโตเต็มที่จะบินออกนอกรังเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ แล้วสลัดปีกเลือกหาสถานที่เหมาะสมเพื่อสร้างรังและเกิดเป็นอาณาจักรใหม่ต่อไป
วรรณะ ปลวกงาน : เป็นปลวกตัวเล็กไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา มีหน้าที่ก่อสร้างรัง หาอาหารมาเลี้ยงปลวก วรรณะอื่นๆในรังและจะทำงานทุกอย่างในรัง มีจำนวนมากที่สุดในรัง
วรรณะ ปลวกทหาร : เป็นปลวกตัวเล็ก แต่มีหัวโต โดยที่ขากรรไกรจะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อใช้ทำหน้าที่เป็นอาวุธต่อสู้ศัตรู ปลวกชนิดนี้ไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ มีประมาณ 10% ของรัง

การขยายอาณาจักรปลวก


ถึง 2550 ปีเมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสม “แมลงเม่า” จะบินออกจากรังในเขตร้อน และจะบินออกจากรังช่วงหลังฝน เมื่อแต่ละคู่ผสมพันธุกันแล้วจะสลัดปีก แล้วเลือกหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างรังใหม่ ซึ่งแมลงเม่าคู่นี้ คือ ราชาปลวกและราชินีปลวก ของรังนั้นๆ เอง ซึ่งแต่ละรังจะมี ราชาปลวกและราชินีปลวก เพียง 1 คู่ เท่านั้น เมื่อหาสถานที่ได้แล้ว ภายใน 23 วัน จะเริ่มวางไข่ครั้งแรกๆ จะออกไข่ไม่กี่ฟอง แต่จะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ ตลอดอายุของมัน ไข่จะฟักตัวอ่อนภายใน 3050 วัน ซึ่งไขที่ฟักออกมาจะเป็น ปลวกงาน เป็นจำนวนมากกว่าปลวกชนิดอื่นๆ ทั้งหมด ปลวกที่มีอายุยืนยาว อาจมีไข่มากกว่า 30,000 ฟองต่อวัน ราชาปลวกและราชินีปลวก จะมีอายุยืนยาว

วงจรชีวิตของปลวก

เรามารู้ถึงวงจรชีวิตของปลวกกันเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีพของปลวกและเพื่อเป็นการป้องกันกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

แมลงเม่าเป็นปลวกทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ไม่เป็นหมัน เมื่อบินออกจากรังจะจับคู่กันแล้วจะสลัดปีกทิ้ง จากนั้นจะพากันไปหาสถานที่ที่เหมาะสมในการที่จะเป็นรังใหม่ของมันต่อไปนั่นคือที่ที่มีความชื้นสูงและมีอาหารคือไม้อยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนการผสมพันธุ์เริ่มจากเพศเมีย ซึ่งเป็นราชินีปลวกจะชูส่วนท้องและปล่อยกลิ่นฟีโรโมนเพศ ทำให้ปลวกราชาเคลื่อนที่เข้าไปหาและเริ่มการผสมพันธุ์ เมื่อสร้างรังเสร็จตัวเมียจะเริ่มวางไข่ในระยะต่อมาภายในระยะเวลา 1 เดือน การวางไข่ครั้งแรกจะมีจำนวนน้อยประมาณ 10 ฟองหรือมากกว่า ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนออกมาภายในเวลาหลายสัปดาห์ โดยปลวกรุ่นแรกจะเป็นปลวกงานและปลวกทหาร ในระยะแรกตัวอ่อนจะได้รับอาหารจากปลวกราชินีโดยการกินมูลและอาหาร ซึ่งทำให้ปลวกได้รับโปรโตซัวและแบคทีเรีย ต่อมาส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ขึ้นจะเริ่มวางไข่อีกและจะเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนไม่ได้ ในครั้งนี้จะเป็นการผลิตปลวกงานและปลวกทหารให้เพิ่มขึ้น ในระยะ 34 ปีต่อมาราชินีจึงวางไข่เพื่อผลิตวรรณะสืบพันธุ์ชุดแรก (pri­mary repro­duc­tive) สำหรับตัวราชาปลวกจะมีรูปร่างขยายขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก จะคอยอยู่ใกล้ๆ กับตัวนางพญาปลวกเพื่อทำการผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว

ลักษณะไข่ปลวกมีรูปร่างเรียวยาวหรือค่อนข้างกลม สีขาวนวลมักวางเป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มคล้ายไข่แมลงสาบ เมื่อฟักออกเป็นตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยแต่จะมีขนาดเล็กกว่า ตัวอ่อนจะลอกคราบหลายครั้งและเจริญเป็นตัวเต็มวัยที่ไม่มีปีกและเป็นหมัน คือปลวกงานและปลวกทหาร ส่วนตัวอ่อนที่ลอกคราบกลายเป็นตัวเต็มวัยมีปีกหรือแมลงเม่าจะกลายเป็นวรรณะสืบพันธุ์ ระยะเวลาการเจริญของวรรณะสืบพันธุ์จากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 910 เดือน ส่วนวรรณะทหารและกรรมกรใช้เวลา 46 เดือน ปลวกนางพญาและปลวกราชาจะมีอายุยืนยาวถึง 2550 ปี

ทำอย่างไรบ้านคุณจะห่างจากปลวก


บ่อยครั้งที่บ้านต่างๆ กว่า 90% มักมีอันต้องผุพังไปก่อนเวลาอันสมควรจากปลวก และแมลงร้ายสารพัดชนิด โดยเฉพาะปลวกนั้นถือว่าเป็นมหันตภัยร้ายสำหรับบ้านมากที่สุด จึงกลายเป็นคู่ขัดแย้งที่สำคัญของมนุษย์เราโดยปริยายความจริงแล้ว เจ้าปลวกที่ว่านี้มันมิได้พิศมัยอะไรกับไม้เลยแม้แต่น้อย แต่เป็นเพราะเซลลูโลส (Cel­lu­lose) ในเนื้อไม้ต่างหากที่เป็นอาหารอันโอชะของปลวกดังนั้นไม่เพียงแต่ไม้ที่จะต้องผุพังกลายเป็นกากอาหารของปลวก แต่ยังรวมไปถึงอะไรก็ตามที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบอยู่ เช่น กระดาษ, ผ้า, หนังสัตว์ พรม. หนังสือ ฯลฯ หลายสิบชนิดที่หาพบได้ในบ้านทั่วไป

ศัตรูร้ายจากใต้ดิน

ปลวก ที่จัดว่าเป็นศัตรูร้ายสำหรับบ้านเรือนของเราก็คือ ปลวกใต้ดิน (Sub-​Terranean Ter­mites) ซึ่งพวกนี้ ถือเป็นศัตรูโครงสร้าง (Struc­tural Pests) ที่ทำความเสียหายสูงสุด ถึง 95% ของความเสียหายทั้งหมดก็ว่าได้ อาณาจักรของปลวกพวกนี้อยู่ใต้ดิน อาศัยอยู่ร่วมกันตามแบบฉบับของสัตว์ที่เรียกว่า แมลงสังคม ซึ่งในรังปลวกใต้ดินจะเต็มไปด้วยประชากรปลวกนับแสนนับล้านตัว แบ่งแยกหน้าที่กันเป็นวรรณะต่างๆ ทำงานเป็นทีมเวิร์ค

ปลวกนางพญาและราชา : ทำหน้าทีวางไข่เพิ่มประชากรในรัง

ปลวกทหาร : ทำหน้าที่ต่อสู้ศัตรูผู้บุกรุก

ปลวกงาน : ทำหน้าที่หาอาหารมาป้อนปลวกทหาร ปลวกนางพญา และเก็บไว้ในแหล่งสะสมอาหารของรัง,สร้าง,ซ่อม,ขยายรังและทางเดิน

วิธีรบกับปลวกและการป้องกัน

เจ้าตัวนี้แหละครับเหยื่อล่อปลวกเข้าบ้านปัจจุบันวิธีการรบที่นิยมคือ การป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ คือการกำจัดแหล่งสร้างรังอันเป็นฐานทัพใหญ่ของปลวก ทำลายทางขึ้นลง หรือเส้นทางลำเลียงพลพร้อมกับการสร้างแนวป้องกันสำหรับการบุกรุกใหม่ในอนาคต ส่วนการที่เราจะไปคิดแก้ปัญหาที่ต้นตอด้วยการสร้างบ้านโดยใช้วัสดุที่ไม่มีเซลลูโลสของโปรดของปลวกนั้นดูจะลำบากครับ เพราะต้องควบคุมตั้งแต่การก่อสร้างตั้งแต่แรกเริ่ม ถึงแม้ปัจจุบันจะมีไม้เทียม หรือใช้คอนกรีตแต่วิธีการก่อสร้างยังคงใช้ไม้แบบกันอยู่

สำหรับการป้องกันอย่างถูกวิธีนั้นเราควรทำตั้งแต่

ก่อนก่อสร้าง โดยอัดเคมีลงดิน ให้รอบแนวคานด้านใน-นอก และฉีดเคลือบผิวดินในทุกๆ ตารางนิ้ว รวมทั้งโดยรอบของตัวอาคาร 1 เมตรและบริเวณที่มีความชื้นสูง

การราดน้ำยาผ่านระบบท่อใต้อาคาร (ลักษณะนี้ต้องทำตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง) ระบบท่อจะเดินตามคานและเจาะรูที่ท่อเป็นระยะๆ แต่ท่อจะไม่สัมผัสกับดินเรื่องจากอาจจะทำให้ท่ออุดตันได้ ซึ่งระบบนี้จะสะดวกสบายกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องเข้าไปในตัวบ้าน ไม่ต้องทุบพื้น เจาะบ้านเป็นรูเพื่ออัดน้ำยาให้ตัวบ้านหลังจากอัดน้ำยาในครั้งแรกหมดอายุ

ในกรณีที่ไม่ได้เตรียมท่อน้ำยาไว้ตั้งแต่แรก ต้องเจาะรูขนาด 58 นิ้ว ให้ทะลุพื้นจนถึงชั้นดินรอบแนวคานทั้งด้านในและนอก แต่ละจุดห่างกันประมาณ 1 เมตร

หากตรวจพบกองดินหรือทางเดิน ของปลวกให้ค้นหาถึงจุดที่ปลวกขึ้นมา และทำลายทิ้งด้วยน้ำยาหรือสเปรย์ฆ่าปลวก ทิ้งไว้ซัก 23 วัน ให้ทำการตรวจสอบอีกครั้ง

ฉีดเคมีเคลือบโครงไม้ โดยให้ซึมเนื้อไม้เน้นตามรอยเลื่อนรอยต่อ เป็นการป้องกันการเกิดขึ้นใหม่ของปลวก มอด ด้วง และเชื้อราต่างๆด้วย ควรเลือกไม้ที่นำมาก่อสร้างที่มีความทนทางต่อการทำลาย เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ชิงชันและไม้ประดู่ (ข้อนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณในกระเป๋าครับ) แต่ถ้าใช้ไม้เนื้ออ่อนควรทำการอาบน้ำยาป้องกันเสียก่อน

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

ไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้บ้าน เพราะปลวกจะอาศัยรากไม้เข้ามาในบ้านได้
พยายามป้องกันไม่ให้แมลงเม่าบินเข้ามาภายในบ้าน เพราะแมลงเม่าคือปลวกเจริญพันธุ์ เมื่อเข้ามาจะทำรังและวางไข่กลายเป็นปลวกได้ครับ